เมื่อวันที่ 21 ตุลาที่ผ่านมาก็ถือเป็นวันที่ต้องจดจำไว้ถึงการกลับมาของเกมที่ทำให้คนวาร์ปข้ามวันได้กับประโยคเด็ด “One more turn” หรือ อีกเทิร์นเดียวน่ากับเกมที่สร้างชื่อให้กับสตูดิโอ Firaxis อย่าง “Civilization” ซึ่งสำหรับผมแล้วมีไม่กี่เกมที่ลากผมเล่นเกมแบบยาวๆได้โดยไม่เบื่อ เพราะความน่ากลัวของ Civ คือมันเป็นที่ให้ความรู้สึก”ล้า”ได้ช้ากว่าเกมอื่นๆทำให้คุณสามารถเล่นมันได้นานกว่าเกมอื่นๆก่อนที่จะเริ่มล้าหรือง่วง
Interface และภาพรวม
แน่นอนว่าใน CIV 6 ยังคงความคลาสสิกของซีรีย์ CIV ไว้เป็นอย่างดี แผนที่ทรงหกเหลี่ยมอันเป็นเอกลักษณ์ ทันที่เปิดเข้ามาถ้าเป็นคนที่เคยเล่น CIV ภาคก่อนหน้ามา ประมาณ 90 % สามารถทำความเข้าใจได้ทันทีว่าเมนูตรงส่วนไหนใช้ทำอะไร แต่สำหรับคนเล่นใหม่ก็ไม่ต้องห่วง แม่ว่าเกมแนว CIV จะมีเมนูที่(อาจจะ)ดูยุ่บยั่บ แต่หลังจากเล่นไปสัก 1 – 2 ชั่วโมงก็จะสามารถทำความเข้าใจได้เรื่อยๆเองครับ ในส่วนของทรัพยากรก็จะแบ่งเป็น Bonus resource กับ Strategic resource เหมือนเดิมแต่เพิ่มชนิดให้มากขึ้น
ที่เพิ่มขึ้นมาคือสิ่งก่อสร้างของแต่ละเมืองจะโดนแบ่งเป็นหมวดๆเช่น University จะอยู่ใน Research District โดยหากจะสร้างสิ่งก่อสร้างในหมวดนั้นๆเราจำเป็นต้องสร้าง District ขึ้นมาก่อน และ 1 District จะกินพื้นที่ของเมืองนั้นๆไปเลย 1 ช่องทำให้ต้องวางแผนดีๆว่าเราจะวาง District ในช่องไหน เช่นกันในส่วนของ Wonders ก็จะกินพื้นที่ของเมืองไปเล่น 1 ช่องต่อ 1 Wonder
ส่วน Builder จะไม่สามารถใช้ได้เรื่อยๆเหมือนภาคก่อนแล้ว โดยจะสามารถใช้ได้แค่ 3 ครั้งก่อนจะหายไป (หรือ 5 กรณีได้โบนัสจาก Policy ) แต่มีข้อดีคือเวลาสร้าง Improvement จะมีผลทันทีไม่ต้องรอเทิร์นเหมือนภาคก่อน
ยูนิตทางทหาแบบเดียวกันสามารถกด merge ให้เป็นหน่วยเดียวได้แล้วหรือเวลาสร้างถ้ามีสิ่งก่อสร้างทางการทหารระดับสูงก็สามารถสร้างออกมาแบบ group ได้เลย
ระบบ Religion (ศาสนา)
ถ้าใครเคยเล่น CIv 5 God and Kings มาแล้วก็ไม่ต้องอธิบายอะไรมาก แต่ถ้าเป็นคนที่เล่น CIV 5 ภาคปกติอาจจะต้องทำความเข้าใจเพิ่มนิดหน่อย กล่าวคือ เราสามารถเลือกก่อตั่งศาสนาขึ้นมาได้หากครบเงื่อนไข เช่นแต้ม Faith ถึงที่กำหนดและมี the great phophet หลังจากนั้นก็เลือก belief ของศาสนาที่จะช่วยเพิ่มค่าสเตตัสของชนชาติต่างๆของเราได้ เช่นได้ค่า Research point , culture point และที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากภาคก่อนคือเปิดทางในเราชนะเกมด้วยเงื่อนไข Religious victory หรือก็คือการทำให้ชนชาติอื่นๆในเกมหันมานับถือศาสนาที่เราก่อตั้งขึ้นมาโดยการส่ง Missionary , Apostle ไปเผยแพร่คำสอนตามเมืองต่างๆ
Tech tree
ในส่วนของ Tech tree ไม่ต่างจากภาคก่อนมากนัก คือไล่จากซ้ายไปขวา เริ่มจาก Ancient Age ไปสุดที่ Information Age และจะค่อยๆปลคล๊อคยูนิตหรือสิ่งก่อสร้างที่เราสามารถสร้างได้ ทีเพิ่มเติมขึ้นมาคือการ Boost research หรือ Eureka Moment โดยเหมือนเป็นมินิเควสของแต่ละเทคโนโลยี ซึ่งถ้าหากเราทำสำเร็จการวิจัยจะโดนถมเต็มไปครึ่งนึงทันทีซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มาก เช่นการวิจัยพลาสติกจะเร็วขึ้นครึ่งนึงถ้าเราสร้างบ่อน้ำมัน หรือการวิจัยคอมพิวเตอร์จะเร็วขึ้นถ้ามีรัฐบาลที่มี policy 8 slots เป็นต้น ซึ่งการวางแผนว่าจะวิจัยอะไรและคอยสังเกตว่าเทคโนโลยีนี้ต้องการอะไรก็จะทำให้เราได้เปรียบคู่แข่งเป็นอย่างมาก
Government & Policy
ระบบรัฐบาลเป็นสิ่งที่ปรับปรุงจาก Social Policy ของภาคก่อน กล่าวคือเราต้องเก็บแต้ม Culture แล้วไล่อัพ Civic tree ไปเรื่อยๆจนถึงที่กำหนดเราก็จะได้การ์ด Policy มาสำหรับใช้งานโดย Policy จะมีสี่แบบคือ Military , Economic , Diplomatic , Culture ซึ่งการจะเอามาใช้งานได้ต้องขึ้นอยู่กับว่าตอนนี้ชนชาติของเราใช้การปกครองหรือรัฐบาลแบบไหนด้วย
ในส่วนของ government จะเป็นตัวกำหนดว่าชาติของเราจะได้โบนัสแบบไหน และเลือกใช้ Policy แบบไหนได้กี่ช่อง ตอนแรกทุกคนจะเริ่มเหมือนกันคือ Chiefdom หรือการปกครองแบบชนเผ่าและเมื่อวิจัย Civic ไปเรื่อยๆก็จะสามารถปลดล๊อคระบอบการปกครองแบบใหม่ขึ้นมาได้ ทำให้เพิ่มค่าสเตตัสหรือจำนวน Slot ของ Policies ที่เราสามารถใช้งานได้
หน้าตาของ Civic Tree ก็จะคล้ายๆกับ Teach tree ที่ต้องใช้แต้ม Culture ในการมาไล่อัพเช่นกันและเมื่อวิจัยเสร็จเราก็ได้การ์ด Policy มาใช้งาน และเช่นเดียวกับ Teach Tree ตัว Civic ก็มีเควสสำหรับ boost วิจัยเช่นกัน
ซึ่ง Governmentและ Policy ที่เราต้องการใช้งานนั้นสามารถเปลี่ยนได้ตลอดได้แบบฟรีๆในเทิร์นที่วิจัย Civic ใดๆเสร็จ (หรือจ่ายเงินเพื่อนเปลี่ยนได้) แต่การเปลี่ยระบอบการปกครองกลับไปใช้ที่เคยใช้มาก่อนจะทำให้เกิด Anarchy หรืออนาธิปไตยราวๆสามเทิร์นได้ ต้องระวังตรงนี้ด้วย ทำให้ภาคนี้มีข้อดีคือความยืดหยุ่นในส่วนของ Culture ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา่
ข้อดี
+ กราฟฟิกที่ปรับปรุงขึ้นจากภาคก่อน
+ รายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่ทีมงานใส่มา ถึงจะดูไม่ได้จำเป็น แต่ถือว่าเป็นการใส่ใจที่ดีทีเดียว
+ Teach tree ที่ไม่ได้ทำให้เกิดการฟิกว่าจะต้องเล่นสายนี้ไปตลอด พอมาเล่นใหม่ก็เน้นอย่างอื่นได้ ไม่จำเป็นต้องซ้ำๆซากๆเหมือนเดิมว่าเทิร์นนี้ต้องอัพแบบนี้ อีกเทิร์นต้องสร้างอันนีงเป็นต้น
+ ระบบ District ทำให้ต้องรอบคอบในการตั้งเมืองละผังเมืองมากขึ้น ไม่ใช่ว่าจะตั้งเมืองแบบชุ่ยๆได้อีกแล้ว
+ One more turn syndrome
+ แต่ละชนชาติยังคงความเป็นเอกลักษณ์และโบนัสพิเศษรวมถึงยูนิตพิเศษทำให้ดูแตกต่างได้ดี
+ City State จะไม่ใช่แค่เมืองเล็กๆที่ไม่ส่งผลอะไรเหมือนภาคก่อน แต่จะมีผลโบนัสขึ้นอยู่กับ Envoy ที่เราส่งไปด้วย
+ ระบบ Govenrment & Policy และ Civic tree ที่ปรับปรุงจากภาคก่อนอย่างสิ้นเชิงทำให้มีผลต่อการเล่นอย่างมาก
ข้อเสีย
– ถึงจะเพิ่มอะไรมาเยอะ แต่ก็เหมือนจะยังขาดอะไรไปอีก ซึ่งก็ตามสไตล์ CIV ต้องรอ DLC ต่างๆออกมาสักพักก่อน
– พวก Nation Leader อารมณ์เสียง่ายมาก แปปๆคือก็ไม่ Friendly เฉย บางทีทั้งๆที่ไม่ได้ทำอะไรเลยก็มี
– เวลาหาย อยู่ๆก็วาร์ปจากดึกวันศุกร์มาวันอาทิตย์เฉยเลย ไม่เข้าใจจริงๆ
สรุปสั้นๆ
ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไม่ซื้อเกมนี้มาเล่นนอกเสียจากว่าจะกลัวโดนดูดเวลาหรือสเปคคอมไม่ถึง
โดย Civilization VI ได้วางจำหน่ายแล้วบนสตีมในราคา 1600 บาท ส่วน Sid Meier’s Civilization V – The Complete Edition กำลังลดราคา ใน cdkeys เหลือ $11.09 และถ้าใส่ Voucher ลด 5% จะเหลือ $10.53 หรือประมาณ 370 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมธนาค
นอกจากนี้ทาง Team Liquid ยังประกาศตั้งทีมeSport เพื่อเกมนี้แล้วอีกด้วย
รีวิวแบบมึนๆตามความเข้าใจและอวยอย่างสุดคมโดยแอด น.