เรื่องเกม และ การศึกษา ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเข้ากันเท่าไหร่ สำหรับประเทศเรา และสำหรับผู้ปกครองหลายๆท่าน แต่ในต่างประเทศ เขาไม่คิดเช่นนั้น กับเกมแนวสร้างสรรค์โลกที่หลายๆคนน่าจะเคยได้เล่นกันในนาม Minecraft ของค่าย Mojang ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง และมีเด็ก(และไม่เด็ก) กว่า 10 ล้านคนทั่วโลกเล่นกันอยู่ ได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการสอนนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องเคมี โดยกลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัย Hull ได้พัฒนาตัวเกม Minecraft ในเวอร์ชั่นสื่อการเรียนการสอน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถสร้างโครงสร้างโมเลกุลและทำความเข้าใจไปกับความรู้ด้านเคมีไปด้วยกัน
ซึ่งเป้าประสงค์ของตัวเกมต้องการให้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยได้มีส่วนร่วมในเกมและได้ความรู้ไปพร้อมกับความสนุก โดยตัวเกม Minecraft นี้มีชื่อว่า “Molcraft” ซึ่งเป็นโปรเจคที่พัฒนาโดย โจเอล มิลส์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Minecraft ของทางมหาวิทยาลัย และ ดร.มาร์ค ลอร์ช วิทยากรอาวุโสด้านเคมีชีวภาพ
“Minecraft มันเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมในการสำรวจโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้าง,พื้นที่ต่างๆ แม้กระทั่งกายวิภาคต่างๆ”
ดร.ลอร์ช อธิบาย
“แล้วทำไมเราถึงจะไม่เอามันมาใช้ประโยชน์ในการสอนเรื่องโมเลกุลล่ะ? พวกเราแสดงผลงานนี้ให้เด็กๆในชั้นเรียนได้ดู ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นถึงกับร้อง “ว้าว” และ อ้าปากค้าง ไปตามๆกัน”
“มันสามารถดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ ซึ่งมันก็เป็นอีกวิธีที่จะใช้ดึงความสนใจและถ่ายทอดข้อมูลต่างๆให้กับพวกเขา”
“คุณสามารถที่จะสำรวจและอ่านข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องโมเลกุล ซึ่งจะมีหีบสมบัติจำนวนมาก ที่กระจายอยู่โดยรอบ ซึ่งข้างในจะบรรจุปริศนาและหนังสือคำถามเอาไว้อยู่ ซึ่งบางอย่างก็หาเจอได้ง่าย แต่บางอย่างก็โคตรพ่องโคตรแม่งยาก ถ้าคุณหาพวกมันเจอหมด คุณก็จะได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องเคมีเหล่านี้”
“ถ้าผมให้ข้อมูลแก่พวกนักเรียนผ่านทางโลกของ Minecraft และแสดงให้เห็นว่าจะเข้าถึงพวกมันได้อย่างไร พวกนักเรียนก็จะรู้สึกอยากเข้าไปค้นหาและเรียนรู้ มากกว่าที่ผมจะให้ข้อมูลผ่านโปรแกรม Power Point”
ดร.ลอร์ช เสริม
วีดีโอตัวอย่าง Molcraft
ทีม The Hull ตอนนี้กำลังเปิดให้ทดสอบเกม Molcraft ในโรงเรียนมัธยมในลอนดอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคของทางมหาวิทยาลัย แต่มันก็สามารถนำมาใช้กับโรงเรียนประถมเพื่อสอนวิทยาศาสตร์เบื้องต้น อาทิ รูปทรงของอะตอมไปพร้อมกับเรื่องการสร้างโมเลกุล
อย่างไรก็ดี นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกม Minecraft ได้ถูกนำมาใช้เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในด้านการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะก่อนหน้านี้ก็เคยมีการนำเกมนี้มาใช้สอนควอนตัมฟิสิกส์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ qCraft และหลายโรงเรียนในไอร์แลนด์เหนือ ก็ได้ใช้ตัวเกม Minecraft มาใช้มาเพื่อเป็นแรงบันดาลใจและเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการวางผังเมืองของเด็กนักเรียน
วีดีโอตัวอย่าง qCraft
สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะลองเล่น Molcraft ก็สามารถเข้าไปโหลดตัวเกมมาลองเล่นได้ที่นี่ LINK ซึ่งตัวเกมต้องการ ตัวเกม Minecraft หลัก และแรมขั้นต่ำ 4GB ส่วนวิธีการลงเกม ก็เข้าไปดูที่นี่ LINK
Source : The Guardian , The Guardian , BBC News , Hull University , Molcraft , Ischoolguide