[News] ทำความรู้จักกับ CAMM2 เทคโนโลยี RAM แบบใหม่ที่อาจจะถูกนำมาใช้บน Laptop ในอนาคตมากขึ้น

ในงาน Computex ที่ผ่านมา ทาง MSI ได้เผยโฉม Mainboard ตัวใหม่ ชื่อโปรเจคว่า Z790 PROJECT ZERO PLUS ที่สะดุดตาคือ Slot RAM แบบ DIMM ตามปกติได้หายไป แต่แทนที่ด้วยแผงสี่เหลี่ยมแบนๆแทน ซึ่งแผงที่ว่านั่นคือ CAMM2 นั่งเอง
.
CAMM2 ย่อมาจากคำเต็มว่า Compress Attach Memory Module 2 เทคโนโลยีตัวนี้ถูกพุดถึงเมื่อไม่กี่ปีก่อนนี้ โดยหลักการดีไซน์ที่ออกแบบมาเพื่อเน้นการใช้งานบน Laptop หรือแม้แต่กระทั่ง Desktop ในอนาคต และที่สำคัญคือออกแบบมาให้ยังสามารถถอดเปลี่ยนได้ ที่สมัยนี้อุปกรณ์แบบพกพานั้นมักจะไม่ยืดหยุ่นในการถอดเปลี่ยนอะไหล่ภายในเอาเสียเลย โดยจะเฉพาะในส่วนของ RAM ที่ควรจะปรับเปลี่ยนได้ง่ายๆ กลับไม่สามารถทำได้
CAMM รุ่นแรกถูกออกแบบโดยวิศวกรจาก Dell แต่ถูกนำมาผลิตและใช้งานได้จริงโดยองค์กร JEDEC และหลังจากนั้นเราก็มีอุปกรณ์ที่ใช้ CAMM รุ่นต้นแบบออกมา
.
RAM หรือ Random Access Memory ที่เราพอจะได้เห็นกันชินตาในฐานะผู้บริโภคจะมีอยู่ 4 แบบ
.
1. RAM แบบ DIMM (Dual In-line Memory Module) หรือแผงแรมทั่วๆไปที่ใช้งานกับเครื่อง PC ในปัจจุบัน
2. RAM แบบ SO-DIMM (Small Outlet Dual In-line Memory Module) หรือ DIMM เวอร์ชั่นย่อส่วน ที่ปกติจะใช้ในเครื่อง Laptop เพราะมีขนาดเล็กกว่า
3. Solder RAM หรือ RAM แบบบัดกรี ที่ใช้การบัดกรีลงไปที่แผง Mainboard เลย ไม่สามารถอดเปลี่ยนได้
4. RAM แบบฝังลงในชิปไปเลยเช่น Apple M Series หรือ Intel Lunar Lake ที่เราทำเสนอไปก่อนหน้า
.
ซึ่ง 2 แบบแรกนั้นในฐานะคนใช้งานทั่วๆไป หาก RAM พัง เราก็แค่ซื้อมาเปลี่ยนเสียบเข้าไปใหม่ แต่ก็มีข้อเสียคือใช้พื้นที่ในแนวตั้ง และถึงแม้ SO-DIMM จะใช้วีธีการเสียบแบบแนวนอนสำหรับเครื่อง Laptop มันก็ยังมีความหนาในแนวตั้ง(แกน Z)ในระดับนึงอยู่ดี โดยเฉพาะเครื่องที่ต้องใช้ SO-DIMM 2 อันวางซ้อนกัน ทำให้ Laptop ที่จำเป็นต้องเน้นถึงความบางและพื้นที่ใช้งานเกิดปัญหาด้านการออกแบบที่ไม่สามารถทำให้เครื่องบางลงได้
.
ดังนั้นในสมัยต่อๆมา RAM แบบบัดกรีจึงถูกนำมาใช้ใน Laptop มากขึ้นแทน SO-DIMM เพราะสามารถรีดการประหยัดพื้นที่ในแนวตั้งได้ ทำให้เครื่องแบนลงได้มากขึ้น แต่ก็แลกมากกับการที่ผู้ใช้งานทั่วๆไป ไม่สามารถถอดหรือปรับเปลี่ยน RAM ได้เอง
.
CAMM2 คือสิ่งที่อยุ่ระหว่าง SO-DIMM และ RAM แบบบัดกรี ตัวแผงถูกออกแบบมาให้เป็นสี่เหลี่ยมทรงแบน และใช้นอตในการยึดตัวเองเข้าบอร์ด ทำให้ตัวแผงวงจรยังมีความบางอยู่ CAMM2 จะมี 2 แบบคือ DDR5 CAMM2 สำหรับ PC Desktop และ LPDDR5 CAMM2 (LP หรือ Low Powered) ที่ออกแบบมาใช้สำหรับ Laptop และเป็น Dual Channel ในตัวตั้งแต่แรก
.
อ้าว แล้วถ้าถามว่าเราก็มี Laptop ที่ใช้RAMแบบบัดกรีอยู่แล้ว ทำไมยังต้องมาใช้ CAMM2 อีก คำตอบหลักๆคือเหตุผลในเรื่องความสามารถถอดเปลี่ยนอุปกรณ์ได้เอง เนื่องจากการใช้นอตในการยึดตัวเองเข้ากับบอร์ด ทำให้ความยุ่งยากในการเปลี่ยนแทบไม่ต่างกับการเปลี่ยน M2 SSD และนอกจากนี้ยังเป็นเพิ่มโอกาสการลดขยะอิเล็กโทรนิกส์หรือ e-waste อีกด้วย เพราะแทนที่เราจะทิ้งเครื่องหรือแผงเพียงเพราะ RAM บัดกรีพัง เราก็เพียงแค่เปลี่ยน CAMM2 ตัวใหม่เข้าไป ก็ทำให้อุปกรณ์กลับมาใช้งานได้อีกครั้งแล้ว
.
อย่างไรก็ดี CAMM2 ไม่ใช่ทางการแก้ปัญหาแบบครอบจักรวาลแต่อย่างใด ด้วยเหตุผล(ในตอนนี้) หลักๆคือ มันมีความซับซ้อนกว่า ราคาแพงกว่า และยังมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำแบบบัดกรี นอกจากนี้ตัว CAMM2 เองประสิทธิภาพในเรื่องความเร็วก็ยังเทียบไม่ได้กับ RAM แบบฝังชิปของ Apple M Series หรือ Intel Lunar Lake แต่การมาถึงของ CAMM2 ก็อาจจะเป็นทางเลือกให้กับ Laptop แทนการใช้ RAM แบบบัดกรีในอนาคตครับ

Sheapgamer Comments

แสดงความคิดเห็น